• crc@up.ac.th
  • 0 5315 2152
  • EN
  • โหมดมืด
Logo
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • สัญลักษณ์
    • โครงสร้างและอำนาจหน้าที่
    • โครงสร้างการบริหาร
    • ผู้บริหาร
    • การบริหารงาน
    • ค่านิยม
    • วิสัยทัศน์/พันธกิจ
    • กฎหมาย/ประกาศ/คำสั่ง
    • จัดซื้อจัดจ้าง
  • การศึกษา
    • ปริญญาเอก
      • การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • ปริญญาโท
      • บริหารการศึกษา
      • หลักสูตรและการสอน
      • การจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม
      • ภูมิสารสนเทศประยุกต์
      • บริหารธุรกิจ
      • เทคโนโลยีและข้อมูลดิจิทัล
      • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • สมัครเรียน
      • เข้าสู่เว็บ Admission
  • ห้องพัก/เช่าสถานที่
    • ห้องพัก
    • เช่าสถานที่
  • แบ่งปันความรู้
  • นิสิต
    • E-Service
  • บุคลากร
    • บุคลากร
    • E-Service
    • ระบบสำหรับบุคลากร
    • ระบบจองห้องพัก
  • ติดต่อเรา
    • โทรศัพท์/อีเมล/ที่อยู่/แผนที่
    • ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
    • ช่องทางร้องเรียนเรื่องทุจริต
    • Social Network
    • คำถามที่พบบ่อย

ภาษา (อังกฤษ) คุณคิดยังไง

  • หน้าแรก
  • รายละเอียด
ภาษา (อังกฤษ) คุณคิดยังไง
  • 16 กันยายน 2567
  • 163
  • knowledge-sharing

ภาษา (อังกฤษ) คุณคิดยังไง

                                                                                                    -- รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพย์จันทร์ วงศ์จันทร์ตา

        เราต่างก็รู้กันว่า ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสากล ที่คนใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วโลก ภาษาอังกฤษจึงนับเป็นสื่อกลางที่ช่วยขจัดปัญหาด้านการสื่อสารให้ลดลง โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารพูดกันคนละภาษา แต่ปัจจุบัน เกิดความสับสนในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมากขึ้น เช่นการใช้ Do’s/Dos ซึ่งเป็นคำนามพหูพจน์ของ Do ที่แปลว่า สิ่งที่ต้องทำ ซึ่งความสับสน ข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถอธิบายได้เป็น 2 ตอนที่เกี่ยวเนื่องกันดังนี้ คือ 1) ธรรมชาติของภาษา และ 2) การใช้ภาษาอังกฤษ

1. ธรรมชาติของภาษา
สามารถอธิบายเป็นขั้นตอน เชื่อมโยงกันเป็นทอด ๆ ดังนี้

  • ภาษาทุกภาษาบนโลกใบนี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อเป็น สื่อกลาง ในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ดังสมการ ผู้ส่งสาร -> ภาษา -> ผู้รับสาร ซึ่งในแง่นี้ อาจเรียกว่า ภาษา คือเครื่องมือในการสื่อสาร (Tool)
  • เมื่อมีสถานะเป็นเพียง สื่อกลาง สำหรับการสื่อสารเท่านั้น ภาษา จึงไม่ใช่ สาร ที่อยู่ในตัวผู้ส่งสาร เรียกว่า ภาษา คือสัญลักษณ์หรือตัวแทนของ สาร  (Symbol, Representation)
  • เมื่อมีสถานะเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือตัวแทนของสาร แล้ว ภาษา จึงไม่มีความสมบูรณ์หรือมีช่องโหว่ในตัวเอง(Discrepancy)
  • เมื่อเรานำ ภาษา ที่ไม่มีความสมบูรณ์หรือมีช่องโหว่ในตัวเองมาใช้ในการสื่อสาร ก็จะทำให้เกิดการตีความหรือการให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป (Interpretations) ซึ่งโดยปกติแล้วการตีความ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ และความเชื่อของผู้ตีความ หรือผู้รับสาร
  • ยิ่งมีการตีความโดยผู้รับสารที่มีพื้นฐาน ความรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อ วัฒนธรรม ฯลฯ แตกต่างกันมากเท่าไหร่ สาร (Meaning) ที่อยู่ในตัวผู้ส่งสาร ก็จะอาจจะเปลี่ยนไปและอาจจะเป็นคนละเรื่องกับ สาร ที่อยู่ในตัวผู้รับสาร สุดท้ายก็จะเกิดคำถามว่า อะไรคือคำตอบ หรือ สาร ที่แท้จริงที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อกันแน่ ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจนำไปสู่การตัดสินใจไม่ได้ว่าอะไรคืออะไร (Undecidability of Meanings) หรือ ความสับสน นั่นเอง

        ดังนั้น ข้อควรระวังในการใช้ภาษาในการสื่อสาร คือเราต้องไม่ยึดมั่นหรือเชื่อ 100% ว่า ภาษา ที่สื่อออกมานั้น คือความคิด หรือ สาร (Meaning) ทั้งหมดที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อให้ผู้รับสาร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ยึดติดกับตัวอักษรมากเกินไป นั่นเอง

        การดูที่เจตนา สิ่งแวดล้อม บริบทของการสื่อสารและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สีหน้า กริยา ท่าทาง ของผู้สื่อสารจะทำให้เรา เข้าใกล้ กับ สาร ที่อยู่ในตัวของผู้ส่งสาร ได้ดียิ่งขึ้น (ย้ำว่า ใกล้ ไม่ใช่ทั้งหมด)

2. การใช้ภาษาอังกฤษ
สามารถอธิบายเป็นขั้นตอน เชื่อมโยงกันเป็นทอดๆ ดังนี้

  • ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่คนใช้ทั่วโลก (International Language) ทำให้ภาษาอังกฤษมีความแตกต่างกันทั้งสำเนียงการพูด การใช้คำ จนกระทั่งไวยากรณ์ ทำให้เกิดภาษาอังกฤษหลายแบบ เช่น แบบอังกฤษ แบบอเมริกัน แบบออสเตรเลีย แบบอินเดีย แบบสิงคโปร์ หรือแบบไทย จนปัจจุบันมีการใช้คำว่า Englishes เติม es ซึ่งเป็นคำนามพหูพจน์ของ English
  •  Internet และ Social Media เป็น Platform สำคัญในการสื่อสารในโลกปัจจุบัน และภาษาอังกฤษ ก็เป็นสากลที่ใช้กันทั่วไปใน Platform เหล่านี้
  • เมื่อเบื้องหลังของ Social Media มีเรื่องของ ธุรกิจ มาเกี่ยวข้อง การคำนึงถึงความรวดเร็วของเวลา (Speed) และการดึงดูดความสนใจของลูกค้า (Attention) จึงมีผลต่อการใช้ภาษาอังกฤษ ผลที่ตามมาคือ มีการพิมพ์ผิด พิมพ์ถูก เพราะความเร่งรีบ (Time is Money) หรือแม้กระทั่งมีความจงใจใช้ภาษาที่มี โครงสร้างแปลก ๆ ผิดไวยากรณ์ และส่วนมากก็มีการใช้คำศัพท์ที่หวือหวา เพื่อให้คนหันมาให้ความสนใจมากขึ้น
  • เมื่อคนใช้ภาษาแบบใดแบบหนึ่งกันอย่างแพร่หลายและเป็นเวลานาน คนก็จะยอมรับหรือบางรายอาจเชื่อว่าคำศัพท์ หรือโครงสร้างประโยคที่เห็นกันทั่วไปบน Internet หรือ Social Media เหล่านั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และก็ไม่ลังเลที่จะใช้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างเหล่านั้น ตาม ๆ กันไป
  • เมื่อคนส่วนใหญ่ใช้ภาษาแบบใด คนก็จะยอมรับภาษาแบบนั้น แม้ว่าภาษาที่กำลังใช้อยู่อาจเปลี่ยนไปจากกฎเกณฑ์เดิม ๆ ที่เคยร่ำเรีนนมาก่อนก็ตาม

        ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภาษาเกิดจากผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ส่วนใหญ่ยอมรับแบบไหน กฎเกณฑ์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน ยกตัวอย่าง คำว่า Toilet สมัยก่อนถือเป็นคำไม่สุภาพ จึงใช้คำว่า WC (Water Closet) หรือ Restroom แทน แต่เมื่อคนใช้กันมากขึ้น Toilet ก็ได้กลายมาเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป และไม่ถือว่าไม่สุภาพแต่อย่างใด

        สำหรับการใช้ Dos และ Do’s  แล้ว ปัจจุบันมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้ง 2 แบบ ซึ่งทั้ง 2 แบบ ไม่เป็นไปตามกฎไวยยากรณ์ที่เราเคยร่ำเรียนกันมา ซึ่งมีหลักว่า ให้เติม s หรือ es ท้ายคำนามเอกพจน์ ถ้าต้องการให้คำนามนั้นเป็นคำนามพหูพจน์ (มีมากกว่า 1)  นั้นเช่น school(s), parties (party + es)

       ซี่งถ้ายึดตามกฎไวยากรณ์ข้อนี้แล้ว การทำให้คำนามเอกพจน์ “Do” (สิ่งที่ต้องทำ) เป็นคำนามพหูพจน์ ก็ควรจะเติม es เพราะ “Do” ลงท้ายด้วยสระ สุดท้ายต้องเป็น Does (Do+es) แต่คนส่วนใหญ่เขียนเป็น Dos แทน และมีการใช้ซ้ำๆ กันอย่างแพร่หลายจนดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปแล้ว

        สำหรับ Do’s นั้น ก็มีคนใช้เป็นจำนวนมากเช่นกัน การเขียนแบบนี้ก็มาจากกฎการเติม s ในคำนามเอกพจน์ เพื่อให้เป็นคำพหูพจน์ในภาษาอังกฤษนั่นเอง และคนส่วนใหญ่ในช่วงเวลาหนึ่งก็นิยมเขียนเป็น ’s แทน เช่น I got all A’s. (ผมสอบได้ A ทุกวิชา) 4 P’s (Product, Price, Place, Promotion) หรือแม้แต่ 5 C’s ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะเขียน Do’s ในรูปพหูพจน์ ของ Do (ความสับสนจึงเกิดขึ้น)

        ความสับสนในการใช้ภาษาอังกฤษก็จะมีอยู่ต่อไป ตราบเท่าที่มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย และกระแสของการใช้ Internet และ Social Media ในการสื่อสาร เป็นกระตุ้นหรือสารเร่ง (Catalyst) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จนบางครั้งเราตามไม่ทันกับกระแสที่เปลี่ยนแปลงไป ซี่งการค้านกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะดูไม่เหมาะนักสำหรับเรา และอย่าลืมว่าภาษาเกิดขึ้นมาเพื่อถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร (Tool) ดังนั้น เราผู้ใช้ก็ต้องสังเกตเอาเองว่า ภาษาที่เราจะใช้อยู่ในบริบทไหน ใช้กับคนกลุ่มใด หรือใช้กับงานเขียนประเภทไหน คนส่วนใหญ่เขาใช้แบบไหน (Dos หรือ Do’s) แล้วเราก็ปรับใช้ไปตามนั้น

        ความจริง นักปราชญ์ได้กล่าวไว้ว่า การที่จะมีชีวิตที่สงบ (ไม่ว่าชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงาน) เราไม่ควรคัดค้านกับกระแสใดๆ ที่เรารู้ว่าเกินต้านสำหรับเรา เพราะถ้าเรายิ่งคัดค้านหรือไม่ยอมรับสิ่งไหน สิ่งนั้นก็จะตามมาหลอกหลอนเราไม่เลิก ดังสำนวนที่ว่า What you resist, persists.

        สำหรับกระแสของการใช้ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน การปรับตัวให้เข้ากับบริบทและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป (Go with the flow.) ย่อมเป็นทางออกที่ดีและสมเหตุสมผล (Sensible)

sdg4

แท็กที่เกี่ยวข้อง #การศึกษา   #พัฒนาบุคลากร   #บทความดีๆ  


×ปิด
❮ ❯

ค้นหาข่าวและแบ่งปันความรู้

ข่าวและแบ่งปันความรู้ล่าสุด

  • ประชุมสำนักงานสีเขียว
    ประชุมสำนักงานสีเขียว
    8 พฤษภาคม 2568 69
    ข่าวและผลงานเด่น
  • รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาฯ ประจำปีการศึกษา 2568
    รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาฯ ประจำปีการศึกษา 2568
    7 พฤษภาคม 2568 760
    ข่าวและผลงานเด่น
  • ร่วมประชุมทบทวนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2566-2570
    ร่วมประชุมทบทวนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2566-2570
    3 พฤษภาคม 2568 66
    ข่าวและผลงานเด่น
  • ร่วมพิธีสระเกล้าดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโส
    ร่วมพิธีสระเกล้าดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโส
    24 เมษายน 2568 101
    ข่าวและผลงานเด่น
  • นิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษา ณ สพป.ชร.1
    นิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษา ณ สพป.ชร.1
    22 เมษายน 2568 89
    ข่าวและผลงานเด่น

ติดตามเรา

  • tiktok

SDGs

    sdg1 sdg2 sdg3 sdg4 sdg5 sdg6 sdg7 sdg8 sdg9 sdg10 sdg11 sdg12 sdg13 sdg14 sdg15 sdg16 sdg17

แท็กยอดนิยม

  • BCG Model
  • BMI Challenge
  • Carbon Neutrality
  • CEFR
  • Digital University
  • EdPEx
  • Flagships
  • ITA
  • partnership
  • SDGs Goals
  • UI Geen Mectric World
  • Webometrics
  • การบริหารงาน
  • การศึกษา
  • จริยธรรม
  • ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • บทความดีๆ
  • บริการสังคม
  • บริหารการศึกษา
  • บริหารธุรกิจ
  • พัฒนาบุคลากร
  • พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
  • วัฒนธรรมไทย
  • ศิษย์เก่า
  • สำนักงานสีเขียว
  • สิ่งแวดล้อม
  • หลักสูตรและการสอน
  • ห้องพักยูพีริมกก
  • เช่าสถานที่

ที่อยู่

วิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา ศูนย์ราชการฝั่งหมิ่น 333/1 ม.4 ต.ริมกก อ.เมืองฯ จ.เชียงราย 57100

  • อีเมล crc@up.ac.th

  • เบอร์สำนักงาน 0 5315 2152 ทุกวันในเวลาราชการ

  • สถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์

การศึกษา

  • ข้อมูลหลักสูตร

บริการ

  • ห้องพักยูพีริมกก
  • เช่าสถานที่

Social Network

  • Facebook
  • YouTube
  • TikTok

© Copyright 2025. All Rights Reserved by วิทยาเขตเชียงราย